ทำไมต้องไวยากรณ์

ทำไมต้องรู้หลักไวยากรณ์ แค่รู้ศัพท์ภาษาอังกฤษเยอะๆ แล้วสื่อสารกันเลยไม่ได้เหรอ ทำไมบางคนไม่ได้เรียนหลักไวยกรณ์ภาษาอังกฤษเลยแต่คุยกับฝรั่งมังค่าได้รู้เรื่องป๋อเชียว ทำไมภาษาแม่ของเราอย่างภาษาไทยไม่เห็นต้องรู้เรื่องหลักไวยากรณ์เลยก็สื่อกันเข้าใจแล้ว นี่ต้องยอมับว่าเป็นคำพูดที่ได้ยินกันมามากมายจากหลายๆ คนเชียว

ลองคิดดูให้ดีนะครับว่า "โครงสร้างทางภาษา หรือ หลักไวยากรณ์" นี่สำคัญต่อการใช้สื่อสารกันบ้างหรือไม่ ทั้งคำศัพท์และโครงสร้างทางภาษา (หลักไวยากรณ์) น่าจะเป็นสิ่งที่จะต้องไปควบคู่กันเสมอๆ มิฉนั้นแล้วเราคงสื่อสารกันไม่เป็นเรื่องเป็นราวกันเป็นแน่ แม้แต่คำแรกๆ ที่เราคนไทยแทบทุกคนเปล่งปากพูดออกมาก็น่าจะเป็นคำว่า "พ่อ" และ "แม่" ก็ถูกจัดเป็นคำนามกันแล้ว หรือจะลองยกตััวอย่างให้เรียงคำ 3 คำอย่าง "กิน" "แดง" และ "ข้าว" ดูเล่นๆ บ้าง ก็คงน่าจะได้เป็น

ข้าวกินแดง
ข้าวแดงกิน
กินแดงข้าว
กินข้าวแดง
แดงข้าวกิน
แดงกินข้าว

จากตัวอย่างก็คงจะเห็นเพียง 2 ประโยคอย่าง "กินข้าวแดง" และ "แดงกินข้าว" เท่านั้นที่พอจะใช้สื่อสารกันได้เข้าใจ แต่ก็ให้ความหมายต่างไปกันอย่างสิ้นเชิง ที่นี้คงพอจะถึงบางอ้อกันนะครับว่า โครงสร้างทางภาษาหรือหลักไวยากรณ์นี่มีความสำคัญต่อการสื่อสารเพียงได เพียงแต่ว่าภาษาไทยนั้นเราใช้กันมาตั้งแต่อ้อนแต่เกิดจนเราไม่เคยคิดหรอกว่า ประโยคทีเราๆ คุยๆ กันอยู่นั้นหลักไวยากรณ์เป็นตัวกำหนดความหมายในการสนทนาทั้งสิ้น

สำหรับภาษาอังกฤษเองก็เช่นกัน ซึ่งอาจจะเป็นภาษาที่สองสำหรับคนไทยบางคนที่จำเป็นต้องใช้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หรือจะโดยความชอบส่วนตัวก็แล้วแต่ สำคัญที่เราไม่ได้ใช้และไม่ได้คลุกคลีกับมันมาตั้งแต่อ้อนแต่เกิด ลำพังจะแค่รู้ศัพท์เยอะๆ จะสนทนาสื่อการกับคนอื่นกันรู้เรื่องหรือป่าวอันนี้น่าคิดน่ะ สำหรับคนที่ใช้ภาษาอังกฤษสนทนากับฝรั่งบ่อยๆ ก็คงรับเอาการใช้โครงสร้างทางภาอังกฤษหรือหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเข้ามาใช้โดยไม่รู้ตัว แต่ก็มักจะพูดว่าไม่เห็นจะต้องรู้หลักภาษาอังกฤษเลยสักนิดเดียวก็สามารถพูดได้เป็นฉอดๆ แล้ว หารู้ไหมว่าประโยคที่พูดๆ อยู่นั้นมันมีหลักไวยากรณ์ควบคุมอยู่โดยไม่รู้ตัวอยู่แล้ว ว่าไหม

Thai people used kaffir lime juice to wash their hair in the past.
Kaffir lime juice was used by Thai people to wash their hair in the past.

จะเห็นว่าแม้ทั้ง 2 ประโยคนี้ใช้โครงสร้างไวยากรณ์ที่แตกต่างแต่ก็ให้ความหมายที่เหมือนกัน นี่เป็นตัวอย่างที่ดีที่แสดงให้เห็นว่าไวยกรณ์เป็นตัวกำหนดความหมายในการสนทนาเสมอๆ

เกริ่นๆ มาตั้งยาวสาวความยืดจนแทบหลงประเด็น ก็เพียงอยากจะบอกว่า เป็นคนที่อ่อนภาษาอังกฤษมากๆ ไม่ใช่ผูเชี่ยวชาญทางภาษาอะไรนักหรอก ออกจะเป็นชนิด งูๆ ปลาๆ (Broken English) เข้าไปโน่น ก็อยากจะศึกษาหลักไวยกรณ์ภาษาอังกฤษดูกับเขาบ้าง ไม่คิดจะเอาอะไรมากหรอก แค่ ฟัง พูด อ่าน และเขียน ให้เข้าใจได้เท่านั้นเอง แต่เวลาไปเจอเนื้อหาอะไรน่าสนใจๆ มันก็อยากจะแชร์ๆ แลกเปลี่ยนความเข้าใจกับคนอื่นๆ บ้าง นัยว่าเป็นการศึกษาทางหนึ่ง เผื่อๆ ไอ้ๆ ที่เข้าใจนี่มันอาจจะผิดๆ เพี้ยนๆ จนอาจจะมีคนที่เก่งกว่าเข้ามาแสดงความเห็นท้วงๆ ติงๆ บ้าง แย้งๆ บ้าง แลกเปลี่ยนความรู้กันไป ก็คงจะดีนะ

ขอกราบขอบพระคุณคุณครูที่สอนศิษย์แบบห้วนๆ ว่า "ทำบ่อยๆ คลุกคลีๆ เดี๋ยวมันก็เก่งเอง" ยังคงใช้ได้ดีเสมอๆ "มีพรสวรค์แต่ดันไม่ใช้ สู้มีแค่พรแสวงแต่ดันทุรัง ไม่ได้หรอก"

โปรดใช้ "วิจารณญาณ" ในการอ่าน เพราะมั่นใจว่ามีจุดผิดมากมาย

นาย Broken English




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น